แม่ครัว พ่อครัว หัวป่าก์ ทำไมต้องหัวป่าก์?


แม่ครัว พ่อครัว หัวป่าก์

ทำไมต้องหัวป่าก์?

ขออนุญาติเดาแบบเหมารวมว่าหลายคนๆ คงเคยได้ยินคำว่า พ่อครัวแม่ครัวหัวป่าก์ กันมาบ้างนะครับ เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมมันต้องหัวป่าก์ แล้วมันเกี่ยวกับป่าหรือเปล่า

คืออย่างนี้ ในหนังสือ อาหารไทย มาจากไหน ของ สุจิตต์ วงเทศ ได้อธิบายคำว่า หัวป่าก์ หมายถึง คนทำอาหาร ซึ่งก็คือความหมายเดียวกับคำว่าพ่อครัวแม่ครัวนั่นแหละ ซึ่งน่าจะเป็นคำที่มีใช้ทั่วไปแล้วในหมู่ชนชั้นสูง ตลอดจนขุนนางข้าราชการยุคอยุธยา (แต่ไม่พบหลักฐานตรงๆ) สืบเนื่องถึงกรุงธนบุรีกับกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะสมัย ร.1 มีใช้ทั่วไปในหมายรับสั่ง 

ส่วนคำว่า ป่าก์ มีรากจากคำสันสกฤตว่า ปาก (อ่าน ปา-กะ) เป็นคำนาม แปลว่า ความสุก (ดุจอาหารอันหุงต้มสุก หรือผลไม้อันบ่มสุกแล้ว) การหุงต้ม, การปรุง-หา-ตกแต่ง-หรือประกอบอาหาร ฯลฯ 
และ คำว่า หัวป่าก์ หรือ ป่าก์ เป็นคำบาลี ที่นำมาตกแต่งเป็นไทย โดยเติมไม้เอกกับไม้ทัณฑฆาตให้ดูเป็นคำพิเศษ ป่าก์ เมื่อเอาไม้เอกและทัณฑฆาตออก ก็กลับเป็นรูปบาลีเดิม อ่านว่า ปากะ 

และคำว่า หัวป่า (ที่ไม่กร่อนคำจาก หัวปาก์) ก็มีความหมายถึง บริเวณป่า ทำนองเดียวคล้ายๆกับคำว่าหัวไร่ปลายนา มีใช้ในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ (หมายถึงเบ็ดเตล็ด) ตราขึ้นก่อนยุคอยุธยา 

ในเรื่องพระอภัยมณีของเฮียสุนทรภู่ มีคำว่า
“พ่อครัวหัวป่าก์หาแกล้มเหล้า”
ทำกับแกล้มแสนสะเด็ด ล้มแพะแกะควายมาแล่เนื้อราดน้ำส้ม และต้มตับดิบปรุงด้วยผักชียี่หร่าโรยด้วยพริกไทย อยู่ในตอนที่นางละเวง (เมืองลังกา) เตรียมการรับเจ้าละมาน (เมืองทมิฬ) ที่ยกกองทัพมาจะช่วยแก้แค้นตีเมืองผลึก จึงให้เตรียมอาหารเลี้ยงดูไพร่พลเจ้าละมานที่เหมือนยักษ์มักกะสันอย่างพร้อมสรรพ


ในสมัยปลายแผ่นดิน ร.5 มีตำราหนังสือตำราอาหารเล่มหนึ่ง ที่ชื่อ “แม่ครัวหัวป่าก์” ของ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2451-2452 ซึ่งทุกวันนี้เป็นตำราคลาสสิกเกี่ยวกับอาหารไปแล้วหละครับหนังสือแนะนำ


ราคา 1000 บาท

สนใจสั่งซื้อหนังสือ 
Inbox : Bookbooksiam
Line ID : rattatom

Tel : 089 484 6655 / 095 713 9977


ขอบคุณ ข้อมูลดีๆ จากลิงค์