รับน้อง


รับน้อง


คำว่า ประเพณี ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต อธิบายว่าเป็นคำภาษาสันสกฤตว่า ปฺรเวณิ (อ่านว่า ปฺระ -เว-นิ) ใช้หมายถึงสิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน






ดังนั้น รับน้อง คงอยู่ในความหมายที่ว่า เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบเนื่องมานมนาน และการวิพากษ์วิจารณ์รับน้องก็ถือว่าเป็นประเพณีที่ตีคู่มากันมา เพราะสืบเนื่องขับเคี่ยวกันมานานนมไม่แพ้กันกิจกรรมรุนแรงวัดใจ หรือการแสดงอำนาจขู่เข็ญ ของรุ่นพี่ อย่างเช่นเร็วๆ นี้ที่มีภาพข่าวกิจกรรมรับน้องออกมาเป็นชายหญิงคล้ายจูบกัน หรือการประจานน้องในแง่มุมต่างๆ เป็นสิ่งที่เห็นมาทุกยุคทุกสมัย
ข้ออ้างที่รุ่นพี่ใช้เพื่อกระทำต่างๆ มักหนีไม่พ้น ความรักความห่วงใยที่มีต่อน้อง หรืออ้างฝึกความอดทนอดกลั้น อ้างฝึกภูมิต้านทานเพื่อให้น้องไปอยู่ในโลกความจริงที่โหดร้ายยิ่งกว่าเป็นสิ่งที่ทำมาทุกยุคทุกสมัย

คำถามคือ มันจริงอย่างที่รุ่นพี่เหล่านั้นว่าหรือไม่?
อาจกล่าวได้ว่า หนุ่มหน่ายคัมภีร์ผลงานวัยฉกรรจ์ ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกที่เนื้อหาต่อกรต่อต้านระบบรับน้องในมหาวิทยาลัย เพราะฉบับพิมพ์ครั้งแรกพิมพ์ใน ปี พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นยุคที่นักศึกษานิยมเรื่องราวแนวสายลมแสงแดด

เมื่อเอาเครื่องคิดเลขมานับ จากฉบับพิมพ์ครั้งแรกจนถึงวันนี้ กินเวลายาวนาน ร่วม 48 ปี ระบบรับน้องก็ยังอยู่ ข่าวเหยื่อความรุนแรงจากรับน้องมีให้เห็นราวกับงานประเพณีถ้านายทองปน บางระจัน ตัวเอกในเรื่องมาอยู่ในยุคปัจจุบัน คงนั่งขำแห้งๆ
เพราะสังคมรับน้องในหนังสือและปัจจุบันแทบไม่ต่างกันเลย


......................................................................................................


หนุ่มหน่ายคัมภีร์



ราคา 110 บาท

สนใจสั่งซื้อหนังสือ 
Inbox : Bookbooksiam
Line ID : rattatom

Tel : 089 484 6655 / 095 713 9977



ขอบคุณ ข้อมูลดีๆ จากลิงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น