ส้มตำมะละกอ เป็นอาหารเกิดใหม่ในกรุงเทพฯ


ก่อนอื่น ต้องเล่าท้าวความกันก่อน คืองี้ มะละกอที่เราเห็นตามครกแม่ค้าหน้าปากซอยมันเป็นพืชนำเข้ามา ข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากทวีปอเมริกา โดยเข้ามาในอุษาคเนย์ก็ช่วงปลายอยุธยา ส่วนในไทยก็ราวๆต้นกรุงเทพฯ

ส่วนเรื่องใครเป็นคนนำเข้ามาปลูกก็มีสองกระแส คือ สเปน และ โปรตุเกส

ในยุคกรุงธนบุรีมีรายงานว่าจากนายลินโซเตน นักท่องเที่ยวชาวดัตช์แจ้งว่า โปรตุเกสนำมะละกอมาปลูกที่มะละกา แต่ในเอกสารของหมอบรัดเลย์ระบุว่าเป็นชาวสเปน

เอาเป็นว่าเอามาปลูกทั้งคู่นั้นแหละ แต่ใครก่อนหลังช่างมันเถอะ

ส่วนไทยได้พันธุ์พืชชนิดนี้จากมะละกา แล้วเรียกมันว่า “มะละกอ”


สันนิษฐานว่าส้มตำมะละกอน่าจะเริ่มต้นจากในกรุงเทพฯ ซึ่งมีคนจีนทำสวนปลูกมะละกอ ประกอบกับกลุ่มคนลาวที่ถูกกวาดต้อนในสงครามจากสองฝั่งโขง มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในย่านเดียวกัน เช่น ในสวนสองฝั่งคลองบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ 

อ่านถึงตรงนี้คงมีอุทานว่า อ่าวเห้ยแล้วตำส้มอะ ไม่เหมือนกันหรอ? ตำส้ม เป็นคำลาวบริเวณลุ่มน้ำโขง หมายถึงของกินชนิดหนึ่งมีรสเปรี้ยวนำ เพราะ “ส้ม” ในภาษาลาว แปลว่าเปรี้ยว โดยเอาผักหญ้าผลไม้อะไรก็ได้ พวก ส้มมะขาม, ส้มมะนาว, ก้นมดแดง, มาโขลกๆ ประสมกับเครื่องปรุงให้มันเปรี้ยวเป็นใช้ได้

ตอนแรกส้มตำก็เน้นมะละกอเป็นหลัก แต่เพราะว่าธรรมชาติของอาหารมันก็ต้องพลิกแพลงสิ ไม่งั้นคนเบื่อแย่ ก็เลยมีการเอา ผักผลไม้ชนิดอื่นมาทำ เช่น ถั่วฝักยาว เรียกส้มตำถั่วจนถึงส้มตำแครอท แล้วปรุงรสเพิ่มด้วยน้ำปลาร้า, ปูเค็ม ที่เห็นๆกันในปัจจุบันนั่นแหละ


ข้อมูลที่นำมาเล่ามาจาก “อาหารไทยมาจากไหน? ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ



หนังสือแนะนำ




ราคา 375 บาท

สนใจสั่งซื้อหนังสือ 
Inbox : Bookbooksiam
Line ID : rattatom

Tel : 089 484 6655 / 095 713 9977


ขอบคุณ ข้อมูลดีๆ จากลิงค์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น